ลักษณะ ของ 162173 รีวงู

วงโคจร

ดาวเคราะห์น้อยรีวงูโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยระยะห่างระหว่าง 0.96–1.41 หน่วยดาราศาสตร์ (AU) มีระยะกึ่งแกนเอก 1.19 AU ใช้เวลาโคจรครบหนึ่งรอบ 474 วันหรือ 16 เดือน วงโคจรมีความเยื้องศูนย์กลาง 0.19 และความเอียง 6 องศาเมื่อเทียบกับสุริยวิถี[2] มีระยะร่วมวงโคจรที่น้อยที่สุด (MOID) กับโลก 95,400 กิโลเมตร หรือเพียง 23% ของระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์[2]

ลักษณะทางกายภาพ

ยานสำรวจอวกาศ ฮายาบูซะ 2

เมื่อปี พ.ศ. 2555 นักดาราศาสตร์โทมัส จี. มึลเลอร์และคณะ ได้ศึกษาดาวเคราะห์น้อยรีวงูด้วยการสังเกตการณ์หลายรูปแบบ และให้ความเห็นว่าดาวเคราะห์น้อยนั้นแทบจะเป็นทรงกลม มีการหมุนรอบตัวเองสวนทางกับดวงอาทิตย์ (retrograde rotation) มีเส้นผ่านศูนย์กลางประสิทธิภาพ (effective diameter) 0.85–0.88 กิโลเมตร และมีอัตราส่วนสะท้อนเรขาคณิต (geometric albedo) 0.044–0.050 นอกจากนี้ยังได้ประมาณขนาดเม็ดของวัสดุพื้นผิวดาวไว้ระหว่าง 1–10 มิลลิเมตร[3]

ภาพชุดแรกของดาวเคราะห์น้อยรีวงู ถ่ายโดยยานสำรวจฮายาบูซะ 2 เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2561 ขณะที่ยานอยู่ห่างจากดาว 700 กิโลเมตร เผยให้เห็นว่าดาวเคราะห์น้อยมีรูปทรงอย่างเพชร[13] ยานสำรวจฮายาบูซะ 2 ยังคงถ่ายภาพอย่างต่อเนื่องในขณะที่เข้าใกล้ดาวมากขึ้น[14]

ส่วนประกอบและมูลค่าดาว

อ้างอิงตามเว็บไซต์แอสเทอแรงค์ (Asterank) ซึ่งดำเนินงานโดยบริษัท Planetary Resources ดาวเคราะห์น้อยรีวงูมีองค์ประกอบทางเคมีได้แก่ นิกเกิล เหล็ก โคบอลต์ น้ำ ไนโตรเจน ไฮโดรเจน และแอมโมเนีย และมีการประเมินมูลค่าดาวปัจจุบันเพื่อการทำเหมืองแร่ไว้ที่ 82,760 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: 162173 รีวงู http://www.asterank.com/ http://www.syfy.com/syfywire/asteroid-ryugu-starts... http://adsabs.harvard.edu/abs/2008AJ....135.1101V http://adsabs.harvard.edu/abs/2008LPI....39.1594A http://adsabs.harvard.edu/abs/2008PASJ...60S.399H http://adsabs.harvard.edu/abs/2009A&A...503L..17C http://adsabs.harvard.edu/abs/2013A&A...550L..11K http://adsabs.harvard.edu/abs/2013Icar..224...24M http://adsabs.harvard.edu/abs/2014ChA&A..38..317L http://adsabs.harvard.edu/abs/2017A&A...599A.103M